เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กชื่อ สายตรงกฎหมาย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณี ประจักษ์ชัย ดราม่าไหแตก อาม ชุติมา กับนายห้าง ประจักษ์ชัย เนาวรัตน์ ที่ทางฝ่ายทนายความของอาม ยกเรื่องสัญญาเป็นโมฆียะมาต่อสู้นั้น ว่า ประเด็นนี้ อาม ชุติมา ไม่น่ารอด โดยระบุข้อความว่า
เรื่องของน้องอามกับประจักชัย ที่จะต่อสู้กันเรื่องสัญญาเป็นโมฆียะ เฉพาะประเด็นที่จะบอกว่า น้องอามเซ็นสัญญาแต่คุณแม่เซ็นพยานแล้วสัญญาเป็นโมฆียะ ผมว่าน้องอามไม่น่ารอด เพราะนี่ไม่ใช่คดีแรก แต่เคยมีคนฟ้องกันมาอย่างน้อย 2 คดี แล้วคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ซึ่งทั้ง 2 คดี ศาลตัดสินในทำนองที่ว่า การที่เด็กทำสัญญาโดยที่คุณแม่เซ็นเป็นพยาน ถือว่าคุณแม่ได้ให้ความยินยอมแล้ว

อาม ชุติมา
1319/2512 “ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว”

ประจักษ์ชัย
3496/2537 “สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว”
2 ฎีกานี้ ผมพูดไว้ในรายการทุบประเด็นตั้งแต่ 24 ตค 61 ถ้าจะช่วยน้องอาม ลองไปดูประเด็นอื่นน่าจะมีโอกาสมากกว่า
ทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม โทร 0957563521
1319/2512 ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
ที่มา https://deka.in.th/view-38728.html
3496/2537 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้นดังนี้ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วยเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
ที่มา https://deka.in.th/view-6879.html
#รัชพล #ศิริสาคร #สายตรงกฎหมาย #ยุติธรรม #สนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม #กฎหมายสามัญประจำบ้าน #กฎหมายจราจรฉบับชาวบ้าน

ภาพจาก เพจ สายตรงกฎหมาย
ที่มา : siamnews
กดติดตามเพจเราได้ที่นี่เลย